Support
Realite
เบอร์โทร/Tel : 02-512-2751, แฟกซ์/Fax : 02-512-5531-2
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

รวบรวมคำถามที่คนส่วนใหญ่สงสัยเกี่ยวกับหลอดไฟ LED

warut.stuartz@gmail.com | 01-07-2558 | เปิดดู 2028 | ความคิดเห็น 0

 

Q: LED คืออะไร?

A: LED (Light Emitting Diode) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กึ่งตัวนำชนิดหนึ่งที่สามารถเปล่งแสงได้เมื่อมีกระแส ไฟฟ้าไหลผ่านในปริมาณและทิศทางที่เหมาะสม เรียกกันทั่วไปว่า ไดโอด

 

Q: LED ประหยัดไฟได้อย่างไร?

A: หลอดไฟปกตินั้น สมมุติว่าใช้กำลังไฟฟ้า100ส่วน แต่อาจให้แสงจริงๆแค่ส่วนนึงของกำลังไฟฟ้าทั้งหมด ส่วนที่เหลือนั้นจะกลายเป็นการสูญเสียในรูปความร้อนและรังสีที่มองไม่เห็น เรียกได้ว่าประสิทธิภาพของแสงที่ออกมานั้นต่ำเมื่อเทียบกับกำลังไฟฟ้าที่เรา ต้องเสีย แต่ LED นั้น สามารถให้ในส่วนของแสงที่ออกมาได้สูงมาก และความร้อนสูญเสียนั้นต่ำ จึงทำให้ LED ที่กำลังไฟฟ้าต่ำนั้น ใช้ทดแทนหลอดไฟดังกล่าวได้

 

Q: LED มีกี่สี?

A: LED นั้น หลักๆมีอยู่3สี คือ แดง เขียว น้ำเงิน ซึ่ง สามารถนำมาใช้เป็นแม่สีในการผสมสีอื่นๆได้หลากหลาย แต่ในปัจจุบันนั้น LED สามารถจะให้แสงโทนสีขาวได้โดยที่ไม่ต้องผสม ซึ่งจะให้ความสม่ำเสมอของสีที่เหมาะสมสำหรับใช้ในพื้นที่ทำงานดีกว่า นอกจากนี้ยังมีโทนสีสำหรับการใช้งานทั่วไป คือ สีขาว (daylight), สีขาวนวล (cool white) และ สีเหลือง (warm white)

  

Q: LED มีการพัฒนาอย่างไร?

A: LED นั้นมีมานานกว่า50-60ปีเป็นแล้วอย่างน้อย ในช่วงแรกๆนั้น LED จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกกลมๆโค้งๆ มี 2 ขา หรือเรียกว่า LED “DIP, 5mm” เนื่องจากการใช้งานมีลักษณะจุ่มไปในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จุดประสงค์ในการใข้งานเพื่อเป็นสัญญาณไฟบอกสถานะการทำงานของอุปกรณ์ ถัดมา เนื่องจาก LED ที่ใช้ 2 ขานั้น ไม่สามารถระบายความร้อนได้ดี จึงได้พัฒนาให้มีลักษณะเป็นเหมือนชิบสี่เหลี่ยมและมี 4ขา เพื่อเพิ่มการระบายความร้อนให้ดีขึ้น จึงทำให้มีประสิทธิภาพในการเปล่งแสงดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งLEDชนิดนี้เรียกว่า SMD (Surface Mounted Diode)  จากนั้น เพื่อเพิ่มการระบายความร้อนให้ดียิ่งขึ้น ได้ออกแบบ LED ให้มีการสัมผัสกับตัวระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น โดยให้ผิวสัมผัสของตัวชิบแทบจะทั้งหมดแนบไปกับแผ่นวงจร LED ในลักษณะนี้จะเรียกว่า COB (Chip On Board) จึงทำให้ LED ชนิดนี้มีประสิทธิภาพในให้แสงที่สูงและอายุนาน

 

Q: หลอดไฟ LED สำหรับใช้แทนฟลูออเรสเซ้นท์(หลอดนีออนตามบ้าน) ใช้ตัวไหนดี ?

A: หลอดฟลูออเรสเซ้นท์(Fluorescent) ที่ใช้ตามบ้านทั่วๆไปจะเป็นขนาด18W(หลอดสั้น2ฟุตหรือ600มม.) และ 36W (หลอดยาว 4 ฟุตหรือ 1,200 มม.) ถ้ารวมบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์เข้าไปก็จะกินไฟกว่า 20W และ 40W ตามลำดับ เราสามารถใช้ LED แบบ T8-600 และ T8-1200 มาใช้งานแทนได้เลย(ขั้วเดียวกัน) โดยไม่ต้องมีบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์

 

Q:  หลอดไฟ LED แบบขั้วเกลียวใช้แทนหลอดตะเกียบได้เลยหรือไม่ ?

A: ขนาดเดียวกัน ใช้ได้เลยไม่ต้องเปลี่ยนขั้วใดๆ    

 

Q: Power Factor คือ อะไร?

A: Power Factor (PF.) หรือที่เรียกกันในภาษาไทยว่า ค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าซึ่งการปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้า (Power Factor: PF) สามารถ ลดกำลังไฟฟ้าสูญเสีย และเพิ่มความสามารถในการรับโหลดของอุปกรณ์ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้น ทั้งของผู้ใช้ไฟฟ้า ระบบจำหน่าย ระบบส่งไฟฟ้าและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นการประหยัด การใช้พลังงานไฟฟ้า ของผู้ใช้ไฟฟ้า และของประเทศชาติโดยรวม อันจะก่อให้เกิด การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า

 

ความคิดเห็น

วันที่: Fri May 10 01:12:29 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0